หน้าเว็บ

รายการล่าสุด

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทสวดมนต์ชำระใจ

บทสวดมนต์ที่ใช้สวดทุกวันพร้อมคำแปล

เราเป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธที่พึ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเราคือพระพุทธศาสนา โดยมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นรัตนตรัย เป็นที่พึ่งแห่งจิต ของเรา เมื่อใดก็ตามหากเรารู้สึกสับสน เครียด หรือคิดอะไรไม่ออก แนะนำให้สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ แล้วความคิด สติดีๆ ก็จะบังเกิดขึ้นค่ะ  ขอให้ผู้อ่านเจอให้นำไปปฏิบัติตามจงพบแต่ความสุขและสิ่งดีงามในชีวิตนะคะ

เริ่มสวดได้เลยค่ะ

                                                บทสวดบูชาพระรัตนตรัย


อิมินาสักกาเรนะพุทธังอะภิปูชะยามิ
อิมินาสักกาเรนะธัมมังอะภิปูชายามิ
อิมินาสักกาเรมะสังฆังอะภิปูชะยามิ


บทกราบพระรัตนตรัย


อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ 


คำแปล 
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับแล้วซึ่งเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง 
ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง 
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) 
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว 
ข้าพเจ้าขอนมัสการซึ่งพระธรรม (กราบ) 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประฟฤติปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ซึ่งพระสงฆ์ (กราบ) 

ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต 
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(นะโม 3 จบ) 

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

คำแปล

(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

บทสวดมนต์ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

คำแปล
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก 
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก 

อาราธนาศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 


สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 


ถวายพรพระ (อิติปิ โส ๆ)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัม พุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พระพุทธคุณ)
สะวากขาโต ภะคะวตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหีติ (อ่านว่า วิญญฮีติ) (พระธรรมคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะคะสังโฆ ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)

ชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต* ชะยะมังคะลามิ

มารติเรกะมะภิยุชณิตะสัพพะรักติง โฆรัมปะนาพะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ยันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะสานิ

นาพาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะมีวะ สุทารุณันคัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา นึนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง ชะนะกายะมัชเณ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิทายะ นะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุมินโท ตันเตชเสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตังเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐะหัตถัง พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา ทุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โยวาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

ชัยปริตร (มหากาฯ)
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปา ณินัง ปูเรตวา ปาระมี ปัตโต สันโพธิ มุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต* ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวิฑ ฑ ฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ**
ชะยัสสุ ชะยะ มังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร อะถิเสเก สัพพะพุทธานัง
อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะถาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต
จะสุยิฏฐัง พรัหมะ**** จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธีเต ปะทักขิณา นิ กัตวานะ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะทังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุถาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* ฯ

อิติปิโส เท่าอายุ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนถตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๔๒ ปี ตัองสวด ๔๒ จบ


บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิทุกโข ไหมิ
ปราศจากความหุกข์
อะเวโร โหมิ
ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ
ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ
ปราศตากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
มีความสุขาย สุขใจ รักษาเตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพือนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวร แก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
อะมีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถืด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขาฟรสุขใจรักษาตนให้พันจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

หลังจากแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์แล้ว พึงทำสมาธิสักพักแล้วสวดแผ่ส่วนกุศลต่อ
บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตาโหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของ ข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ญาดิทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ญาดิทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง ลัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ญาดิทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง ลัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ญาดิทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ญาดิทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
ขอส่วนบุญมี้จงสำเร็จแก่ส้ตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวเทีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรีอภูมิใดก็ตเม ขอให้ท่านได้รับผลยุญนี้แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ช้าพเจ้า ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ







บทสวดโพชฌงคปริตร 
(เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายให้สวดพระคาถานี้ค่ะ)
โพชฌังโคสะติสังขาโต ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ  โพชฌังคา  จะตะถาปะเร สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต  เต  สัพพะทัสสินา มุนินา  สัมมะทักขาตา ภาวิตา  พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ  นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต** โหตุ สัพพะทาฯเอกัสะมิง สะมะเย  นาโถ โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต  ทิสะวา โพชฌังเค  สัตตะ เทสะยิ เต  จะ ตัง อะภินันทิตะวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตะวานะ สาทะรัง สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต** โหตุ สัพพะทาฯ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ  เต**  โหตุ  สัพพะทาฯ
**ถ้าสวดให้ตัวเอง ให้เปลี่ยนคำว่า เต เป็น เม

คำแปล
โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ…
ความศักดิ์สิทธิ์และสำคัญของบทสวดมนต์โพชฌงคปริตร 
บทสวดนี้เป็นบทสวดสำคัญที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด หรือสวดเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยให้มีพลังจิตในการสร้างสติขึ้นซึ่งบทนี้จะเกิดอานุภาพมากหากประกอบกับการบำเพ็ญจิตเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วย
การที่เชื่อกันว่าบทสวดมนต์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะ มีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธอยู่ได้รับความทุกข์ทรมานมาก พระองค์จึงทรงแสดงบทสวดโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะให้ท่านได้ฟังและน้อมจิตปฏิบัติตาม
หลังจากฟังบทสวดและท่านพระมหากัสสปะได้พิจารณาธรรมตามก็พบว่า ท่านสามารถหายจากโรคได้ และอีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธอยู่ในลักษณะเดียวกัน หลังจากนั้นก็พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้
และเรื่องราวที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค
แต่ในความเป็นจริง พระไตรปิฎกกล่าวว่า โพชฌงคปริตรนั้นเป็น หลักธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญาเป็นธรรมชั้นสูง เป็นคำสอนในการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน หากใจดี ร่างกายย่อมดีตาม
หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่า “องค์แห่งโพธิ” หรือ “องค์แห่งโพธิญาณ” เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา ดังนั้นถ้าเราสวดมนต์บทนี้ด้วยความเข้าใจในสาระก็จะมองเห็นความเจ็บป่วยว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรของชีวิต เป็นเรื่องธรรมดา แล้วก็จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้ลุกขึ้นมาปฏิบัติธรรม คือมองว่า เวลาที่ป่วยอยู่นี้แหละคือเวลาที่ดีที่จะได้พักผ่อนจิต ได้ปฏิบัติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น