หน้าเว็บ

รายการล่าสุด

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

"โรคติดเชื้อในกระแสเลือด"

"โรคติดเชื้อในกระแสเลือด" 
!! รู้ไว้ก่อนสาย เกินไป


คุณแม่ของผู้เขียน ได้ป่วยเป็นโรคนี้ จึงอยากเผยแพร่ ให้ท่านผู้อ่านที่รักสุขภาพ ได้รับรู้ ความเป็นมาของโรคนี้ และขอนำเรื่องภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดมานำเสนอเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยเฉพาะปัจจุบันนี้เรามักจะได้ยินคำนี้กันมากขึ้น ขณะที่ก็ยังคงมีคนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร มีอาการแบบไหนและเกิดขึ้นได้อย่างไร
แม่ของผู้เขียน แทบไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็นว่า เป็นโรคนี้ เพราะใช้ชีวิตปกติ เหมือนคนธรรมดาทั่วไป แต่จะมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ จึงคิดว่าเป็นเรื่องปกติทานยาแล้วน่าจะหาย เข้าๆออกๆ โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ จนเป็นเรื่องชินชาแล้ว แต่อยู่ๆ วันหนึ่งก็บอกเหนื่อยมาก ไม่มีเรี่ยวแรงจะลุก จะเดิน ไปไหน ต้องนอนอยู่กับที่ กินข้าวไม่อร่อย  ทานไม่ได้เลย แบบว่ากินอะไรเข้าไป ต้องอาเจียนออกมาหมด ในที่สุดต้องพาเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เพ่ื่อให้หมอวินิจฉัยโรค และได้เจาะเลือดตรวจ ผลตรวจออกมาคือ ติดเชื้อในกระแสเลือด ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่แล้ว ที่เป็นมา เพราะแม่เปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อยๆ เป็นว่าเล่น ทำให้หมอไม่กล้าให้ยาบางตัว แต่ต้องคอยให้ยาปฎิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทางสายน้ำเกลือ ตลอดเวลา ทุกวันนี้คุณแม่ยังต้องนอนอยู่บนเตียงที่โรงพยาบาล เพราะยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงอยากให้ท่านผู้อ่าน ที่ได้อ่านบทความนี้ หากท่านมีเพื่อนหรือญาติ ที่กำลังเป็นหรือสงสัยรีบไปรับการรักษาเพื่อหาทางแก้ไข ป้องกันได้ท่วงทีค่ะ

รู้จักโรค

การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาษาชาวบ้านคือเลือดเป็นพิษ หมายถึงหมายถึงภาวะที่ร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือ เชื้อรา ซึ่งหากแพทย์บอกว่าติดเชื้อในกระแสเลือดก็มีโอกาสที่จะความดันเลือดต่ำเนื่องมาจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายหรือสารพิษจากเชื้อโรคนั่นเอง
สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด มีเชื้อโรคอยู่หลายชนิดด้วยกันที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อในทุกอวัยวะก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในปอด(ปอดอักเสบ) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ(กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)  การติดเชื้อที่ผิวหนัง(ผิวหนังอักเสบจากแบคทีเรีย) การติดเชื้อในทางเดินอาหาร(ถ่ายเหลวจากการติดเชื้อ) การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง(เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) 

อาการของผู้ป่วยโลหิตเป็นพิษเป็นอย่างไร

มีไข้สูงหนาวสั่น หรือบางรายอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติหายใจหอบ
คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงสับสน 
กระวนกระวาย หรืออาจจะซึมปัสสาวะออกน้อย
ผิวอาจจะอุ่น แดง หรือซีดและเย็นก็ได้ขึ้นกับระยะของโรค
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว


เมื่อไรจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคโลหิตเป็นพิษ

การจะวินิฉัยว่าโลหิตเป็นพิษจะต้องมีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
1.จะต้องมีแหล่งที่ติดเชื้อซึ่งอาจจะมีอาการหรือสิ่งตรวจพบดังต่อไปนี้เป็นการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อ ซึ่งจะใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตำแหน่งที่กำลังมีการติดเชื้ออยู่ ได้แก่
  • การเอกซเรย์ เช่น เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในปอดหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เช่น อัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อดูว่ามีฝีเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่
  • การเจาะน้ำจากตำแหน่งต่างๆ เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องปอด ตรวจพบเม็ดเลือดขาว หากพบแสดงว่ามีการติดเชื้อ
  • การตรวจปัสสวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่
  • ไอเสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หรือตรวจรังสีทรวงอกพบว่าเป็นปอดบวม
  • มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • เพาะเชื้อจากเลือดพบตัวเชื้อ


2. เมื่อมีอาการหรือแหล่งที่ติดเชื้อตามข้อ 1 จะต้องมีการตรวจพบในข้อสองอีกสองข้อได้แก่
  • มีไข้มากกว่า 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา
  • หายใจมากกว่า 20 ครั้งหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
  • ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า12000 เซลล์ต่อมม หรือน้อยกว่า 4000 เซลล์ หรือมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่า10%

หากมีอาการในข้อที่ 1 และมีการตรวจพบในข้อที่ 2 อีกสองข้อจะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือภาวะติดเชื้อเข้ากระแสเลือด
3. เป็นเกณฑ์ของการประเมินว่าภาวะโลหิตเป็นพิษเป็นชนิด severe sepsis หรือไม่ หากปรากฎว่ามีข้อใดข้อหนึ่งก็แสดงว่าเป็น severe sepsis
  • ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ หัวใจจะบีบตัวได้น้อยลง ความดันโลหิตก็จะยิ่งลดลง ยิ่งทำให้การส่งเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ น้อยลงไปอีกความดันโลหิตต่ำ ต้องใช้ยาเพิ่มความดันโลหิตโดยร่างกายไม่ขาดน้ำ
  • ปอด การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนระหว่างปอดกับเลือดจะน้อยลง มีภาวะขาดออกซิเจน
  • ไตเสื่อม ปัสสาวะออกน้อยกว่า0.5ซซ/กม/ชมในเวลา 2 ชม
  • มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า80,000
  • มีภาวะเลือดเป็นกรดpH<7.30 สูงกว่า 1.5เท่า
  • สมอง จะเกิดอาการสับสน วุ่นวาย หรือซึม จนถึงขั้นโคม่า ในที่สุด
  • ตับ ตับทำงานน้อยลงจะมีการคั่งของน้ำดี ทำให้มีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับยังจะหยุดผลิตสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจึงออกได้ง่าย
  • ระบบการแข็งตัวของเลือด นอกจากสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากตับจะน้อยลงแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือลดลงด้วย ทำให้เลือดออกง่าย ผู้ป่วยจะมีเลือดออกไม่หยุดเกิดขึ้นได้ในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด สมอง ลำไส้ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

หลักการรักษา

1. การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
2.การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
3. การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
4. การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
5. การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
6. การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
7. การใช้เครื่องช่วยหายใจ
8. การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด? 
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์ ก็มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น 
  • เด็กแรกเกิด เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เจริญพัฒนาได้ดีพอ เด็กแรกเกิดจะมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่าย ซึ่งอาการหลักก็คือมีไข้ และเด็กแรกเกิดจำเป็นต้องได้รับยาปฎิชีวนะ 
  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน โรคเรื้อรัง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด  
  • ผู้ที่ทำการเปลี่ยนอวัยวะที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดโอกาสที่จะร่างกายจะต่อต้านอวัยวะที่เปลี่ยนใหม่ ก็จะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป   
  • ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด 


ถ้าผู้ป่วยมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยทั่วไปจะมีไข้เป็นหลัก หนาวสั่น 
หัวใจบีบตัวเร็ว หรือหายใจเร็ว สับสน ปัสสาวะออกน้อย ซึ่งบางคนอาจมีผื่นขึ้นตามตัว หรือปวดตามข้อมือ ข้อศอก หลัง สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ดังนั้นจึงต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที 
อย่างไรก็ตาม ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นเรื่องที่รักษาได้ค่อนข้างยาก เพราะเริ่มต้นมาจากการติดเชื้อที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หลังจากนั้นเชื้อก็จะแพร่พันธฺ์กระจายไปตามกระแสเลือด ดังนั้นการรักษาก็คือให้ยาที่จำเพาะตรงกันกับเชื้อ ซึ่งในทางปฎิบัตินั้นทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะบ่อยครั้งที่ตรวจเพาะเชื้อไม่พบ หรือหาอวัยวะเริ่มต้นที่มีการติดเชื้อไม่พบ ทำให้ไม่ทราบว่าน่าจะติดเชื้อโรคชนิดใด แพทย์จึงต้องใช้ยาที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลากหลายชนิดแบบที่เรียกว่าครอบคลุมกันหมด เพราะหากเกิดการติดเชื้อจนทั่วร่างกายแล้ว ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆจะทำงานผิดปกติและค่อยๆหยุดทำงานลงจนเสียชีวิตได้ในที่สุด


                                                                                             ขอบคุณข้อมูล http://www.siamsport.co.th
siamhealth.ne